เช่า 3 เหรียญ ลด100 +free EMS (เช่า 5 เหรียญ ลด200) *** พยายามลงของทุกวัน
Rut20
เหรียญรุ่น1 ปีลึก ผิวรุ้ง ผิวปรอท สวย เเท้ เดิม ราคาถูก ที่นี้ที่เดียว ไลน์/โทร 0809322665

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญ


สุดยอดแห่งเหรียญพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่แห่งปี 17 "" สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลังสมเด็จพระเอกาทศรถ "" กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้าง เลี่ยมเดิมไว้ใช้ รหัสp11.2-1291 600บาท

โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง ณ.วัดสุทัศน์ฯและมีพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ ใช้เนื้อเดียวกับพระกริ่งพระพุทธชินราช ภปร กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้าง
รุ่นนี้กองทัพภาคที่ 3 จัดสร้างในปีพ.ศ. 2517 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จประกอบพิธีเททอง ณ. วัดสุทัศน์ฯและมีพิธีพุทธาภิเษกอย่างยิ่งใหญ่ถึง 2 ครั้ง โดยครั้งแรกที่ วัดสุทัศน์ฯกรุงเทพฯ ครั้งที่สอง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลกถือเป็นพิธีพุทธาภิเษกที่ยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งของวัดศรีรัตนมหาธาตุฯ จังหวัดพิษณุโลก
ในพิธีครั้งนั้นมีสร้างพระอีกหลายแบบเช่นเหรียญในหลวงทรงผนวช เหรียญพระพุทธชินราช เหรียญพระนเรศวรหลังพระเอกาทศรถ และ พระบูชา เป็นต้น โดยในพิธีการจัดสร้างได้รวบรวมมวลสารชนวนที่เป็นของพระเกจิดังๆ นำมาหล่อซึ่งมีจำนวนมากมาย โดยที่ฐานพระกริ่งชินราชได้พระราชทานราชานุญาติให้ใช้อักษรย่อ ภปร. เป็นครั้งแรกซึ่งถือว่าเป็นมงคลยิ่ง และในพิธีได้นิมนต์พระเกจิดังๆมามากมาย เช่น หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อเนื่อง หลวงพ่อนอ หลวงพ่อเทียม หลวงพ่อพริ้ง หลวงพ่อกี๋ เป็นต้น
วัตถุมงคล ทั้งหมดได้ทำการตกแต่งเพื่อความสวยงาม "ร่วม 1 ปี" จึงแล้วเสร็จ จากนั้น พลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 จึงได้อัญเชิญไปประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ วิหารหลวงพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2517 โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสนมหาเถระ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงประกอบพิธีจุดเทียนชัยมหาพุทธาภิเษก และมี "พระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ" ร่วมพิธีพุทธาภิเษกจำนวน 45 รูป อาทิ
1.พระภาวนาโกศลเถระ วัดปากน้ำภาษีเจริญ
2.พระโพธิวรคุณ(ไพฑูรย์) วัดโพธิ์นิมิต
3.พระราชมุนี(มหาบุญโฮม) วัดปทุมวนาราม
4.พระสังวรวิมลเถระ(หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี
5.พระครูพิพิธวิหารการ(หลวงพ่อเทียม) วักษัตราธิราช
6.พระครูรักขิตวันมุนี(หลวงพ่อถิร) วัดป่าเลไลย์
7.พระครูญาณวิจักษ์(พระอาจารย์ผ่องจินดา) วัดจักรวรรดิราชาวาส
8.พระครูนนทกิจวิมล(หลวงพ่อชื่น) วัดตำหนักเหนือ
9.พระครูกิตตินนทคุณ(หลวงพ่อกี๋) วัดหูช้าง
10.พระครูโกวิทสมุทรคุณ(หลวงพ่อเนื่อง) วัดจุฬามณี
11.พระครูสุตาธิการี(หลวงพ่อทองอยู่) วัดใหม่หนองพะอง
12.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
13.หลวงพ่ออุตมะ วัดวังวิเวการาม
14.หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
15.หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ
16.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
17.หลวงพ่อเกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ เป็นต้น
..................................
ขอขอบคุณข้อมูลจากหนังสือ มหามงคลแห่งแผ่นดิน ครับ



เหรียญ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวาย หระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เเละพระบรมราชจักรีวงศ์ พุทธศักราช 2538
รหัสp10-0118



เหรียญ ร.5 พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลัง หลวงปู่ทวด วัดห้วยเนียง อ.บางเเก้ว จ.พัทลุง รหัสp9.17-1867  300บาท



เหรียญ พระนเรศวร หลัง ชาวบ้านบางระจัน ปี2519 พิธีใหญ่  รหัสp9.15-1622

ประวัติ การสร้างอ้างอิงจากเวปไซด์ครับ เหรียญพระนเรศวรมหาราช ปี 2519 ในหลวงทรงเสด็จฯจุดเทียนชัย

เป็นเหรียญที่ปลุกเสกพิธีเดียวกันกับเหรียญ 1 ในสยาม
พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสก มีรายนามดังนี้


สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรฯ
หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง
หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์ฯ
หลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพารามฯ สุรินทร์
พระราชพุทธิรังษี วัดหนองจิก
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพ็ชร
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
หลวงพ่อชื่น วัดตึก
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง
หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม
หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี(สระบุรี)
และ หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง ประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใน มหาราชวัง เมื่อวันที่ ๙ เมษายน



เหรียญ สมเด็จพระนเรศวร รุ่น 1 วัดใหญ่ชัยมงคล จ.อยุธยา พระเกจิอยุธยามากมายร่วมปลุกเสก เลี่ยมเดิม  รหัสp9.14-1493  300บาท



เหรียญ รัชกาลที่ 9 ภูมิพลอดุลยเดช บรมราชาธิราช หลัง พระพุทธชินสีห์ สร้างถวายในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ปี2539 รหัสp9.14-1416

จัดสร้างในปี 2539 เนื่องในวโรกาส ฉลองสิริราชสมบัติครบ๕๐ ปี
ด้านหน้า 
กลางเหรียญมีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิ พลอดุลยเดช ผินพระพักตร์ทางเบื้องขวาชิดวงขอบเหรียญด้านบนมีข้อความว่า "ภูมิพลอดุลยเดช บรมราชาธิราช"
ด้านหลัง
พระพุทธชินสีห์ขอบเหรียญด้านบนมีข้อความว่า "สร้างถวายในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก"
สร้างโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ประกอบพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษกในวันที่ 20 มีนาคม 2540 ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ และพระเกจิอาจารย์ ทรงเจริญพระพุทธมนต์ และสวดพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ทั้งหมดจำนวน 54 รูป พระนามและรายนามพระสงฆ์ที่กราบทูลและนิมนต์ มาร่วมอธิษฐานจิตในพิธีพุทธมหาชัยมังคลาภิเษก ดังนี้

พระเจริญพระพุทธมนต์ เวลาประมาณ 15.00 น.
1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร 
2. สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
3. สมเด็จพระมหาธีราจารย์ วัดชนะสงคราม 
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม
5. พระสุเมธาธิบดี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
6. พระธรรมวโรดม วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
7. พระวิสุทธาธิบดี วัดสุทัศนเทพวราราม
8. พระธรรมปัญญาจารย์ วัดมกุฏกษัตริยาราม
9. พระพรหมโมลี วัดยานนาวา
10. พระมหารัชมงคลดิลก วัดบวรนิเวศวิหาร
พระคณาจารย์นั่งเจริญจิตตภาวนา (ชุดที่ 1 เวลาประมาณ 15.00 น.)
1. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (หลวงพ่อพลอย) วัดเทพธิดาราม กทม.
2. พระมงคลเทพโมลี (ดร.พูลทรัพย์) วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระราชวิสุทธิคุณ (หลวงพ่อเกตุ) วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
4. พระโสภณเสมาธิคุณ (หลวงพ่อเฟื่อง) วัดเจ้ามูล กทม.
5. พระสุธรรมคณาจารย์ (หลวงปู่เหรียญ) วัดอรัญบรรพต หนองคาย
6. พระครูสาธรพัฒนกิจ (หลวงพ่อละมูล) วัดเสด็จ ปทุมธานี
7. พระอาจารย์มหาวิบูลย์ วัดโพธิคุณ ตาก
8. หลวงปู่จันทา วัดเขาน้อย พิจิตร
9. พระครูกาชาด (บุญทอง เขมทตฺโต) วัดดอนศาลา พัทลุง 
10. พระครูอดุลยธรรมกิจ (หลวงพ่อกลั่น) วัดเขาอ้อ พัทลุง
11. หลวงพ่อสังข์ศีลคุณ วัดดอนตรอ นครศรีธรรมราช 
12. พระอาจารย์เปลี่ยน วัดอรัญวิเวก เชียงใหม่ 
13. หลวงปู่จันทร์โสม กิตติกาโร วัดป่านาสีดา อุดรธานี
14. พระอธิการวิชา วัดศรีมณีวรรณ ชัยนาท
15. หลวงพ่อบุญมา คัมภีรธัมโม วัดหนองปุง สกลนคร
16. พระครูมนูญธรรมมาภิรัต (หลวงพ่อสาคร) วัดหนองกรับ ระยอง
17. พระครูเขมคุณโสภณ (หลวงพ่อจันทรแรม) วัดเกาะแก้วธุดงค์สถาน บุรีรัมย์
ชุดที่ 2 เวลาประมาณ 18.00 น.
1. พระราชจันกวี วัดไผ่ล้อม จันทบุรี 
2. พระอุดมประชานารถ (หลวงพ่อเปิ่น) วัดบางพระ นครปฐม
3. พระมงคลสิทธิคุณ (หลวงพ่องลำใย) วัดทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี
4. พระครูฐิติธรรมญาณ (หลวงพ่อลี) วัดเหวลึก สกลนคร
5. พระครูสุวัณโณปมคุณ (หลวงพ่อคำพอง) วัดถ้ำกกกู่ อุดรธานี
6. พระครูอนุรักษ์วรคุณ (หลวงพ่อสง่า) วัดหนองม่วง ราชบุรี 
7. พระครูสุนันท์วิริยาภรณ์ (หลวงพ่อเก๋) วัดแม่น้ำ สมุทรสงคราม
8. หลวงปู่พรหมมา เขมจาโร วัดสวนหินผานางคอย อุบลราชธานี
9. พระครูสถิตโชติคุณ (หลวงพ่อไสว) วัดปรีดาราม นครปฐม
10. พระครูถาวรสังฆสิทธิ์ (หลวงพ่อภา) วัดสองห้อง นครปฐม
11. พระอาจารย์คำบ่อ วัดใหม่บ้านดาล สกลนคร
12. หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข อุบลราชธานี
13. หลวงปู่หงส์ วัดเพชรบุรี สุรินทร์
14. พระครูอรรถธรรมทร (หลวงพ่อเฮ็น) วัดดอนทอง สระบุรี
15. พระครูเกษมคณาภิบาล (หลวงพ่อมี) วัดมารวิชัย พระนครศรีอยุธยา
16. หลวงปู่รินทร์ รักชโน สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
17. หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว วัดป่าหินเกิงวิปัสสนา ขอนแก่น
18. พระครูนนทสิทธิการ วัดไทรน้อย นนทบุรี
19. หลวงปู่พลพินิจ ขันจิธโร สำนักสงฆ์ภูถ้ำพระ กาฬสินธุ์
พระสงฆ์สวดภาณวารและทิพย์มนต์
1. พระมหาสุธน กวิญโญ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระปลัดพิทยา ญาณิวโส วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูวินิตสุนทรกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูพินิจ กิจจาภิรักษ์ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
พระสวดพุทธาภิเษก
1. พระครูพิทักษ์ถิรธรรม วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
2. พระครูวิบูลวิหารกิจ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
3. พระครูสุวัฒนประสิทธิ วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
4. พระครูอมรโฆสิต วัดสุทัศนเทพวราราม กทม.
ประวัติการสร้าง 
โดยเหรียญดังกล่าว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จฯ แทนพระองค์


เหรียญ รัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ปี2511 หลวงปู่โต๊ะร่วมปลุกเสก รหัสp9.13-1379  เช่าเเล้ว



เหรียญ สมโภช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวช ครบ 100 ปี รหัสp9.12-1306  180บาท



เหรียญ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ปี2510 หลัง ภปร. พิธีใหญ่ หลวงปู่โต๊ะร่วมปลุกเสก จ.สุโขทัย รหัสp9.11-1276  250บาท



เหรียญแสตมป์ ร.5 โสฬศ พระโสภณนโรดม วัดแก้วแจ่มฟ้า บางรัก กทม รหัสp9.11-1247  120บาท



เหรีญ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รหัสp9.7-1088



เหรียญ พระนเรศวร รุ่น "" สู้ "" รหัสp9.7-1074  200บาท

เหรียญสมเด็จนเรศวร มหาราช รุ่น สู้ เนื้อทองแดง จำนวนการจัดสร้าง 999,999 เหรียญ พิธี ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) กรุงเทพฯ เหรียญนี้ออกแบบได้สวยมากๆ มีความคมชัดสูง ควรค่าแก่การบูชา หรือ เป็นของฝากล้ำค่าดียิ่งครับ พิธีพุทธาภิเษก วันที่ 19 พ.ย.2548 ที่วัดพระแก้ว มีพิธีบวงสรวง เวลา 9.00 น.เป็นต้นไปมีพระเกจิอาจารย์ ดังๆร่วมพิธีปลุกเสก จำนวน 6 รอบ รอบละเกือบร้อยรูป สมเด็จพระราชินีเสด็จเป็นประธานในพิธีเวลา 17.19 น.
    สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชเสาวนีย์ให้พลเอกณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ จัดสร้างเหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่น "สู้" เพื่อนำไปพระราชทาน ทหาร ตำรวจ ราษฏรอาสาสมัคร รักษาหมู่บ้านใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และบริจาคโดยเสด็จพระราชกุศลทูลเกล้าถวาย นำไปทรงช่วยใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และทรงจุดเทียนชัยในพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก โดยพระภาวนาจารย์ 108 รูปพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ 2,549 รูป ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง วันอาทิตย์ที่ 11 กันยายน 2548 เวลา 17.19 น. 
    นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชประสงค์ให้จัดสร้างเหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อพระราชทานเป็นขวัญกำลังใจแก่ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ และอาสาสมัครที่ปฏิบัติภารกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โปรดเกล้าฯพระราชทานคำขวัญเป็นลายพระหัตถ์ของ พระองค์ "สู้" ประทับที่หลังเหรียญและพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ สก. ประดิษฐานหลังเหรียญด้วยส่วนหนึ่งจะเปิดให้ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคโดยเสด็จพระ ราชกุศล เพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงนำไปใช้ในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตามพระราชอัธยาศัย 

1. เหรียญทองคำ สร้างจำนวน 3,999 เหรียญ น้ำหนักประมาณ 1.5 บาท
2. เหรียญเงิน สร้างจำนวน 9,999 เหรียญ
3. เหรียญทองแดงบริสุทธิ์ สร้างจำนวน 999,999 เหรียญ
4. เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชุบสามกษัตริย์ (ชุบคล้ายกรรมการ)
5. เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ชุบทอง (ชุบคล้ายทองคำ) 
    พระราชพิพัฒน์โกศล เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม แขวงบางขุนนนท์ เขตบางกอกน้อย กทม. เป็นประธานดำเนินการฝ่ายสงฆ์ พลเอกณพล บุญทับ รองสมุหราชองครักษ์ และผู้อำนวยการโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระบรมราชินีนาถประธาน ดำเนินงานฝ่ายฆราวาสและผู้รับพระราชเสาวนีย์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงบวงสรวงดวงพระวิญญาณสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงจุดเทียนชัย ในพิธีมหาชัยมังคลาภิเษก โดยพระคาวนาจารย์ 108 รูป พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ จำนวน 2,549 รูป ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง วันอาทิตย์ ที่ 11 กันยายน 2548 พสกนิกรทุกหมู่เหล่าทั่วประเทศไทยมีโอกาสที่ตอบแทนพระคุณแผ่นดินพระราชทาน

 ความหมายของคำว่า "สู้" ดังนี้.- 
1. สู้เพื่อปกป้องรักษาประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ด้วยศักดิ์ศรีของความเป็นคนไทยเหมือนดังเช่น บรรพบุรุษไทยได้เสียสละชีวิต เลือดเนื้อ เพื่อปกป้องรักษาแผ่นดินไทยให้เป็นมรดกตกทอดมาถึงลูกหลานไทย ตราบเท่าทุกวันนี้
2. สู้เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยช่วยกันรักษากฏหมายของบ้านเมืองให้มีความศักดิ์สิทธิ์ ป้องกันมิให้ผู้ไม่หวังดีต่อประเทศชาติมาทำร้ายคนบริสุทธิ์
3. สู้เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้พ้นจากความทุกข์ยาก เช่น การช่วยขจัดปัญหาความ ยากจน การว่างงานและความไม่เป็นธรรมในสังคม cr.http://www.zoonphra.com/shop/catalog.php?storeno=c001&idp=1087.



เหรียญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มูลนิธิสงเคราะห์เด็ก จ.สมุทรสาคร ปี2519 รหัสp9.6-1030  250บาท



เหรียญ ร.5 จปร. ครบรอบ80ปี โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย 23 ต.ค. 2532 รหัสp9.4-0889 150บาท



เหรียญ กรมหลวงชุมพร รศ.129 ด้านหลังหลวงปู่ศุข รุ่น 1 รุ่นพิเศษ รหัสp9.4-0879



เหรียญ สมเด็จพระปิยมหาราช ปี2504 ที่ระลึกในงานสมโภช สวนพุทธบูชา ธนบุรี รหัสp9.4-0875



เหรียญที่ระลึก รัชกาลที่ 8 งานสร้างพระราชอนุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล หลังโล่ห์ จปร. โดยพระบรมราชานุญาติ ปี 2514 รหัสp8.7-6871  500บาท

  
เหรียญ มหาจุฬาลงกรณ์ จปร ร.ศ.212 รหัสp8.5-6757


เหรียญ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร ที่ระลึกวันเสด็จพระราชดำเนิน เปิดพระอนุสาวรีย์ ปี 2518 รหัสp8.3-6650  220บาท


เหรียญ เสด็จนิวัติ พระนคร เหรียญ 1 บาท ปี2504 รหัส p8.2-6620  600บาท

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐอเมริกา และทวีปยุโรป ของในหลวงรัชกาลที่เก้า และพระราชินี ถือเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญ ในยุคต้นของรัชสมัย ในการนี้ ทางรัฐบาลได้มีการจัดสร้างเหรียญที่ระลึก เหรียญแพรแถบ และที่สำคัญคือการสร้างเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคาหนึ่งบาทขึ้น ในปีพ.ศ.๒๕๐๔ จากการสืบค้นจากกฎกระทรวง ตามราชกิจจานุเบกษา วันที่๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๕๐๔ ตามประกาศ (ที่แนบมา) จะเห็นว่าเหรียญนี้ถูกเรียกว่า เหรียญกษาปณ์ทองขาว (ปัจจุบันเรียกว่า Cupronickel) ซึ่งระบุส่วนผสมของโลหะ ทองแดง ๗๕% นิเกิล๒๕% อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ ในหมายเหตุ ระบุไว้ว่าสร้างขึ้นเพื่อระลึกถึงในหลวงและพระราชินี ในการเสด็จนิวัติพระนคร และยังตรงกับในโอกาสที่กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ได้ตั้งมาครบร้อยปีอีกด้วย (โรงกระสาปน์สิทธิการ โรงกษาปณ์แห่งแรกของไทย ก่อตั้งในปีพ.ศ.๒๔๐๓ อ้างอิงข้อมูลจากสำนักกษาปณ์) ลักษณะเหรียญ ด้านหน้า: เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เบื้องซ้าย เบื้องบนเป็นตราพระราชสัญลักษณ์จักรี กระนาบด้วยลายกระหนกเบื้องล่างมีข้อความว่า "เสด็จนิวัตพระนคร" ส่วนประกอบ: ทองแดง ร้อยละ 75, นิเกิล ร้อยละ 25 เส้นผ่าศูนย์กลาง: 27 มม. น้ำหนัก: 9 กรัม จำนวนการผลิต: 4 430 000 ราคาหน้าเหรียญ: 1.00 บาท วันที่ประกาศใช้: 17 มกราคม 2504 //https://pantip.com/topic/37057801

"เหรียญ เสด็จนิวัต พระนคร ด้านหลังตราแผ่นดิน
จัดสร้างในคราวในหลวงเเละพระราชินีเสด็จกลับจากไปเยือน อเมริกาและยุโรป ว่ากันว่าใครที่พกหรือบูชาเหรียญแบบนี้ เมื่อเราได้จากบ้านไปแล้ว จะเดินทางกลับมาอย่างสวัสดิภาพ"


เหรียญ สมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200ปี ในรัชกาลที่9 ปี 2525 หลังพระมหากษัตริย์8รัชกาล รหัสp8.2-6618 ยังอยู่


เหรียญ สมเด็จพระภูมิพลมหาราช 5 ธันวามหาราช วันที่ 10 พ.ศ.2529 รหัสp8.2-6614 ยังอยู่


เหรียญในหลวง - สมเด็จย่า ที่ระลึกการก่อสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ.2538 รหัสp8.2-6602

เป็นเหรียญที่ระลึก ที่จัดสร้างขึ้นเพื่อนำเงินรายได้จัดสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ เมื่อปี พ.ศ. 2538 .........พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานแผ่นทอง เงิน นาค ในการจัดสร้าง ด้านหน้าเป็นภาพในหลวงและสมเด็จย่า ด้านหลังเป็นภาพภูมิทัศน์อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ ****************************************************** รีวิวของอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เขียนเมื่อวันที่: 10 กุมภาพันธ์ 2555 คงไม่มีการชมพิพิธภัณฑ์ครั้งใดที่ร่มรื่นเท่ากับการได้มาเยือนอุทยานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ตั้งแต่ทางเข้าเราก็พบกับไม้ใหญ่ที่เขียวสดชื่นตัดกับบรรยากาศของเมืองกรุงที่อยู่ด้านนอกยิ่งนัก เมื่อเดินเข้าไปด้านในดูนิทรรศการด้วยแล้วก็ยิ่งทำให้เราได้รู้จักกับเรื่องราวอันทรงคุณค่ามากมาย อาคารจัดแสดงหลังแรกแบ่งเป็นสองห้อง ห้องแรกเป็นเรื่องราวพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีตั้งแต่ครั้งประสูติจนถึงสวรรคต เริ่มตั้งแต่เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ มีนิวาสถานเดิมอยู่ที่เขตคลองสานโดยที่ครอบครัวของพระองค์เช่าบ้านอยู่บริเวณนี้ และต่อมาพระองค์เสด็จไปเรียนวิชาพยาบาลที่โรงพยาบาลศิริราช และได้รับทุนไปเรียนยังต่างประเทศจึงได้พบกับสมเด็จพระชนก แต่งงานและมีพระธิดาพระโอรส 3 พระองค์ซึ่งต่อมาได้เป็นพระมหากษัตริย์ถึง 2 พระองค์ เรื่องราวในช่วงแรกสิ่งที่โดดเด่นคือภาพถ่ายที่จัดแสดง มีความสวยงามและคมชัดตลอดจนเรื่องราวที่ถ่ายทอดก็สามารถเข้าใจได้ง่าย ส่วนต่อมาเป็นลำดับของราชวงศ์เริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ทรงเป็นพระบิดาของสมเด็จพระชนกและมีลำดับความสำคัญอย่างไรพระโอรสของพระองค์จึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์ จนถึงส่วนต่อมาเป็นบังเพลิง และเทวดาที่ใช้ประกอบในพระราชพิธีถวายพระเพลิงศพของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อ พ.ศ. 2538 ซึ่งเทวดาเป็นสัญลักษณ์ของการถวายพระเกียรติสูงสุดในพระราชวงศ์ และมีข้าวของที่ประชาชนซึ่งเดินทางมาไว้อาลัยต่อการจากไปของพระองค์นำมาถวาย มีมากมายจนต้องหมุนเวียนจัดแสดงเพราะไม่สามารถจัดแสดงได้หมด ส่วนต่อมาจะเป็นแผนที่ของเขตคลองสานในอดีตและปัจุบัน เทียบจุดสำคัญๆ 4 จุด คือ1.วัดอนงคารามซึ่งอยู่ใกล้บริเวณบ้านเดิมของสมเด็จย่า 2.วัดพิชัยญาติ 3.อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ 4. นิวาสถานเดิมของสมเด็จย่า เทียบความแตกต่างของบ้านเมือง 2 ยุค นอกจากนี้ยังจัดแสดงเหรียญที่ระลึกที่จัดสร้างเพื่อหารายได้มาสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ แห่งนี้ ซึ่งเหรียญที่ระลึกเหล่านี้ปัจจุบันหาไม่ได้แล้ว เหลือแต่เหรียญทองแดงที่ยังมีจำหน่ายอยู่ และที่โดดเด่นที่สุดในห้องนี้ก็คือพระบรมสาทิสลักษณ์ฉลองพระองค์สีแดงของสมเด็จย่า ซึ่งผู้นำชมกล่าวว่าสีแดงเป็นสีโปรดของพระองค์ ห้องที่สอง เป็นห้องเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจและงานอดิเรก ห้องนี้มีความโดดเด่นทางสถาปัตยกรรม คือได้ทำกระจกบานใหญ่ไว้ให้มองทะลุออกไปเห็นรากของต้นไกรอายุ 100 ปีที่ปกคลุมอาคารเก่าของบ้านเจ้าพระยาอยู่ เพราะสถาปนิกต้องการให้มีความสอดคล้องกับต้นไม้และอาคารเดิมด้วยซึ่งมองแล้วทั้งสวยงามแปลกตา นิทรรศการจัดแสดงเป็นเรื่องราวพระราชกรณียกิจของสมเด็จย่า งานอดิเรกของพระองค์ เช่นโปรดกีฬาแบดมินตัน หรือถ้าเสด็จต่างประเทศจะทรงสกี หรือช่วงที่พระวรกายไม่ค่อยแข็งแรงจะทรงเปตอง อีกด้านหนึ่งแสดงงานฝีพระหัตถ์บางส่วนของพระองค์ เช่นที่คั่นหนังสือทำจากดอกไม้แห้ง งานปักครอสติส การทำตุ๊กตากระเบื้องและเครื่องถ้วยชามซึ่งของจัดแสดงส่วนใหญ่เป็นของจำลอง ยกเว้นชุดน้ำชาในตู้จัดแสดงกลางห้องที่เป็นของจริงมีอักษรย่อพระนามเดิมว่า ส ว หรือ สังวาลย์ เป็นตัวหนังสือสีทองติดอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าพระองค์ทรงตรัสไว้ว่า “เวลาเป็นของมีค่า” ดังนั้นเราจะเห็นพระองค์ทรงงานตลอดเวลาไม่ปล่อยเวลาให้ว่างเปล่า แม้แต่ขณะทรงเฮลิคอปเตอร์ไปแจกสิ่งของกับมูลนิธิชัยพัฒนายังทรงปักผ้าครอสติสไปด้วย หรือเสด็จไปตามถิ่นทุรกันดารก็จะทรงเก็บดอกไม้เล็กๆ ข้างทางมาทับกระดาษหรือทำให้แห้งเพื่อประดิษฐ์เป็นงานต่างๆ แจกผู้ใกล้ชิดที่พระองค์ทรงงานด้วยเสมอ ถ้าใครอยากทราบว่าพระองค์ทำอะไรบ้างทางอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มีหนังสือเรื่อง “เวลาเป็นของมีค่า” ของสมเด็จย่า จำหน่ายด้วย ส่วนอีกด้านเราจะเห็นฉลองพระองค์ตำรวจตระเวนชายแดนของสมเด็จย่า เวลาพระองค์เสด็จออกเยี่ยมเยือนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร พระราชกรณียกิจในการแจกเครื่องยังชีพให้ราษฎร พระองค์ทรงเป็นประธานมูลนิธิชัยพัฒนาจึงเสด็จออกแจกสิ่งของยังชีพให้ทหารและประชาชนบริเวณชายแดน ด้านข้างห้องมีตู้จัดแสดงของภายในถุงบรรเทาทุกข์ว่ามีอะไรบ้างทั้งเสื้อผ้า ผ้าห่มกันหนาว ยารักษาโรค ส่วนเด็กๆ พระองค์ก็มีของเล่นที่ดีต่อพัฒนาการของเด็กแจก อีกด้านจะเห็นฉลองพระองค์ผ้าไหมแสดงอยู่ เจ้าหน้าที่เล่าว่าตู้นี้จะมีแท่นยืนด้านข้างให้เด็กๆ ที่มาเข้าชมได้ลองเทียบขนาดตัวเองกับพระวรกายของสมเด็จย่าว่าต่างกันแค่ไหน พระองค์มีพระวรกายเล็กแต่ทรงงานที่มีคุณค่ามากมาย เพื่อให้เด็กๆ ได้นำไปเป็นแบบอย่าง หลังห้องมีภาพวาดของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ที่แฝงเรื่องราวของพระองค์ไว้ตลอดชีวิตตั้งแต่ประสูติจนถึงสวรรคต ออกไปด้านนอกหลังอาคารที่ 1 จะมีบ้านหลังเล็กๆ อยูใต้ร่มเงาต้นไม้น้อยใหญ่ เจ้าหน้าที่บอกว่านี่คือบ้านของสมเด็จย่าเมื่อยังพระเยาว์ พระองค์ย้ายบ้านมาจากเมืองนนทบุรี พ่อของท่านชื่อพระชนกชูเป็นช่างทองมาเช่าบ้านอยู่ที่นี่และทำทองส่งวังหลวง สมเด็จย่าก็ย้ายตามมาด้วย จากหนังสือเรื่องหนังสือ “แม่เล่าให้ฟัง” พระราชนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเล่าว่าบ้านของสมเด็จย่าอยู่หลังวัดอนงคาราม เป็นบ้านเช่า เมื่อครั้งริเริ่มทำอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ นั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่ตามหาบ้านเดิมของสมเด็จย่า แต่เมื่อสำรวจแล้วปรากฏว่าบริเวณเดิมนั้นมีอาคารพาณิชย์สมัยใหม่สร้างทับไปแล้ว จึงหาที่ๆ เหมาะสมใหม่ เมื่อนายแดง นานา และนายเล็ก นานา เจ้าของที่ดินบริเวณนี้ได้ทราบเรื่อง จึงน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นจำนวน 4 ไร่ ซึ่งมีกลุ่มอาคารตั้งอยู่ และตอนกลางของพื้นที่เป็นที่ตั้งของบ้านเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาธิบดี (แพ บุนนาค) อธิบดีกรมพระคลังสินค้าในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อได้สถานที่แล้วจึงได้เริ่มก่อสร้างอาคารต่างๆรวมทั้งอาคารหลังนี้ซึ่งแบบในการสร้างได้เคยทูลเกล้าฯให้สมเด็จย่าทรงตรวจเองถึง 3 ครั้งกว่าจะได้ขนาดที่เหมาะสมและใกล้เคียงของจริงมากที่สุด ด้านหน้าอาคารเป็นระเบียงมีตุ่มน้ำวางอยู่ และภายในได้ออกแบบเป็นกระจกแทนฝาผนังด้านหนึ่งเพื่อให้เป็นด้านในห้อง ห้องแรกจะเป็นห้องทำทองของพระชนกชู มีเตาไฟ คีมหนีบ ฯลฯซึ่งเป็นอุปกรณ์การทำทองต่างๆ วางอยู่ ห้องถัดไปเป็นห้องนอน และด้านหลังสุดเป็นห้องครัว การจัดวางข้าวของได้มีเจ้าหน้าที่จากกรมศิลปากรมาดูแลตรวจสอบแล้วว่าเป็นของที่ตรงยุคสมัยจริงๆ และจัดแสดงให้ใกล้เคียงของจริงที่สุด และมีแผนที่ที่ตั้งจริงๆ ของบ้านในชุมชนหลังวัดอนงคารามจัดแสดงอยู่ด้วย ในอาคารหลังนี้มีความน่าสนใจอีกอย่างคือการสร้างที่สอดคล้องกับธรรมชาติ เดิมก่อนจะมาสร้างอาคารนี้มีต้นมะขามเทศใหญ่สถาปนิกจึงเว้นช่องหลังคาเป็นช่องให้ต้นไม้อยู่ร่วมกับบ้านได้อย่างสวยงามลงตัว และมีข้าวของเครื่องใช้ของชาวบ้านเช่นเครื่องฝัดข้าวโบราณ และครกไม้แสดงอยู่ด้วย เดินต่อมามีประตูเก่าแก่ และพื้นที่ปูด้วยอิฐสีแดงเจ้าหน้าที่เล่าว่านี่คือประตูทางเข้าบ้านของท่านเจ้าพระยา เรียกว่าประตู 9 โมงบ้าง 10 โมงบ้าง เพราะเรียกตามเวลาเปิด เนื่องจากรอบๆ บ้านท่านมีทางเข้าหลายทางจึงต้องเปิดปิดเป็นเวลาสำหรับผู้ที่มาเข้าพบ ซึ่งอิฐและโครงประตูเป็นของจริงทั้งหมดแต่จะอยู่ต่ำกว่าพื้นดินปัจจุบันเพราะได้มีการถมที่ใหม่จึงทำให้ดูต่ำลง กลางลานกิจกรรมมีแท่นหินทรายสีเขียวขนาดใหญ่หนัก 32 ตัน ด้านหนึ่งแกะสลักเรื่องราวพระราชกรณียกิจและความเป็นอยู่ของราษฎร ส่วนอีกด้านแกะสลักเรื่องพิธีไหว้สาแม่ฟ้าหลวงที่พระตำหนักดอยตุงซึ่งจัดขึ้นทุกปี ภายในลานยังมีศาลา 8 เหลี่ยมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จมาประทับเมื่อครั้งเปิดอุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ อย่างเป็นทางการ ส่วนอาคารศูนย์ศิลป์ศรีพิพัฒน์นั้น เป็นอาคารเก่าของบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ได้ปรับปรุงให้เป็นสถานที่จัดงานแสดงศิลปะ ด้านล่างเป็นห้องสมุดและห้องน้ำซึ่งเดิมเคยเป็นห้องครัวของบ้านท่านเจ้าพระยามาก่อน เดินเล่นไปด้านหลังเราจะพบกับแนวกำแพงและประตูทางเข้าซึ่งโดนรากของต้นไกรปกคลุมและกลายเป็นส่วนหนึ่งของประตูเหมือนเป็นคานไม้ เจ้าหน้าที่เล่าว่าเด็กๆ จะชอบจุดนี้มากเพราะสามารถโหนเล่นได้ และเป็นสิ่งบอกเล่าความเก่าแก่ของที่นี่ได้เป็นอย่างดี ถัดมาจะมีร่องรอยของบ้านท่านเจ้าพระยาก็คือบ่อน้ำเก่าแก่ และอาคารทิมบริวารซึ่งเหลือแต่โครงสร้าง เรียกได้ว่านอกจากจะได้รู้เรื่องราวพระราชกรณียกิจและพระราชประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีแล้ว ยังได้รู้จักประวัติศาสตร์ของพื้นที่นี้อีกด้วย ถ้าใครเดินจนเหนื่อยและเริ่มกระหายน้ำด้านข้างมีอาคารเรียกว่า ปานะศาลา ขายเครื่องดื่ม และของที่ระลึกที่มาจากโครงการหลวงด้วย สามารถนั่งดื่มและชื่นชมกับบรรยากาศความร่มรื่นได้ เมื่อเดินออกมาด้านหน้าเรียกว่าสวนส่วนหน้า มีพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใต้ฐานของรูปปั้นจะมีดินจากที่ต่างๆที่เคยประทับ ทั้งพระตำหนักวังสระปทุม พระตำหนักดอยตุง และทุกที่ที่หน่วยแพทย์อาสาสมัครฯ ของมูลนิธิชัยพัฒนาเคยไปปฏิบัติงานมารวมอยู่ เป็นตัวแทนว่าพระองค์ประทับอยู่ในทุกๆ ที่ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่ยังแนะนำให้ชมต้นโพธิ์ ไทร ไกร กร่าง อายุเป็นร้อยปีไม้ใหญ่ที่ปกคลุมบริเวณนี้อยู่ให้ความร่มรื่น ซึ่งจะเปลี่ยนสีผลัดเปลี่ยนใบไปตามฤดูกาล นอกจากได้รับความรู้แล้วยังได้มาพักผ่อนในสถานที่อันร่มรื่น นอกจากนิทรรศการต่างๆ แล้วทางอุทยานยังมีกิจกรรมหมุนเวียน เช่นอบรมมัคคุเทศก์น้อย อบรมทำขนมหรือวิชาชีพต่างๆ เพื่อให้ประชาชนได้รู้จัก อุทยานเฉลิมพระเกียรติฯ มากขึ้นด้วย การเดินเข้ามาในสถานที่อันสงบและร่มรื่น รับรู้เรื่องราวทางประวัติของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีผู้เป็นที่เคารพรักยิ่งของคนไทย และประวัติศาสตร์ของสถานที่ นับเป็นการไม่เสียเวลาไปเปล่าๆ ดังพระราชดำรัสของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่ว่า “เวลาเป็นของมีค่า” จริงๆ // มัณฑนา ชอุ่มผล : เขียน // เหรียญในหลวง - สมเด็จย่า ที่ระลึกการก่อสร้างอุทยานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พ.ศ.2538


เข็มกลัด กะไหล่ทองลงยา พระบาทสมเด็จพระภูมิพลมหาราช รัชกาลที่ 9 มูลนิธิ 5 ธันวามหาราช ปี 2539 รหัสp8.2-6601 


ด้านหน้า : เป็นพระรูป พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์เฉียงขวา ริมขอบขวามีข้อความว่า " พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา "
 ด้านหลัง : กลางเหรียญมีข้อความว่า " พระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ พระเจ้าหลานเธอ ๑๑ มกราคม ๒๕๒๒ " ริมขอบเบื้องบนมีข้อความว่า " ประเทศไทย " เบื้องล่างเป็นเลขไทยบอกราคา ๕ บาท
รหัสp8.2-6594 


เหรียญที่ระลึก 100ปี พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี43 พิมพ์ใหญ่...เคาะเดียวแดง..เหรียญที่ระลึก 100ปี พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี43 พิมพ์ใหญ่...เคาะเดียวแดง..

เหรียญ ที่ระลึก 100ปี พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ปี43 รหัสp8.2-6573 400บาท


เหรียญ กรมหลวงชุมพร พิธีวางศิลาฤกษ์ศาลกรมหลวงชุมพรม ปากน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม  ปี2529 รหัสp6.7-1054  300บาท


เหรียญ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช หลั่งน้ำทักษิโนทก หลังพระพุทธ รหัสp6.1-0867  200บาท

1.


2.


คู่ละ 550              "" หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี เเละเกจิ ร่วมปลุกเสก ""  เหรียญสมเด็จพระนเรศวร ปี ๒๕๒๑ รุ่น ปราบไพรีพินาศ  รหัสp5.5-0772

เหรียญสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ปราบไพรีพินาศ ทำพิธีที่วัดมหาพฤฒาราม (วัดตะเคียน) กรุงเทพมหานคร ปี 2521 เนื้อทองแดงผสมชนวน (อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร สร้าง)  เนื้อโลหะที่นำมาใช้ในการจัดสร้างเป็นโลหะผสมพิเศษมีฉวนของของโลหะเก่าจำนวนมาก ๆๆ  ตามแบบของวัดสุทัศน์
นับเป็นพระดีน่าเก็บ สะสมมาก สุดยอดแห่งพิธี และ สุดยอดแห่งประสบการณ์ แบบสุด ๆๆ  โดย อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร  ท่านได้ปลุกเสกเดี่ยวเป็นเวลานาน แล้วจึงจัดพิธีพุทธาภิเษกใหญ่ ที่วัดมหาพฤฒาราม (วัดตะเคียน) โดยมีเกจิที่ร่วมพิธีดัง ๆๆ ดังนี้
            1. หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหานคร
            2. หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม
            3. หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร
                                         ฯลฯ




เหรียญ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ เเหลมสน ปากน้ำ อ.หลังสวน จ.ชุมพร กยิราเจกยิราเถน ปี2518 รหัสp5.3-0677



2 เหรียญ 1.อัลปราก้า 2.ทองเเดงรมดำ
เหรียญ "" หลวงปู่โต๊ะ ร่วมปลุกเสก "" เหรียญ ร.5 ที่ระลึกเปิดตึกรัชดา โรงเรียนทวีธาภิเศก ปี 2514 รหัสp5-0625,p70316  เช่าเเล้ว




เหรียญ ทองแดง ผิวไฟ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชรุ่น " สู้ " ตอกโค้ด สภาพเดิมๆ เก็บรักษาอย่างดี รหัสp4-0315





เหรียญ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ในหลวงทรงเสด็จจุดเทียนชัย ปี19 รหัสp4-0304,0306 

พระเถราจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสก มีรายนามดังนี้ 
สมเด็จพระญาณสังวรฯ วัดบวรฯ 
หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง.. 
หลวงพ่อเข็ม วัดสุทัศน์ฯ.. 
หลวงปู่ดูลย์ วัดบูรพารามฯ สุรินทร์ 
พระราชพุทธิรังษี วัดหนองจิก.. 
หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี.. 
หลวงพ่อเพิ่ม วัดสรรเพ็ชร.. 
หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี.. 
หลวงพ่อชื่น วัดตึก.. 
หลวงพ่อสุด วัดกาหลง.. 
หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว.. 
หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม 
หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม.. 
หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม.. 
หลวงพ่อพล วัดหนองคณฑี(สระบุรี).. 
หลวงพ่อทองอยู่ วัดหนองพะอง..ฯลฯ
cr.web-pra

 2 เหรียญ 500


ร.5 มหาราชทรงเลิกทาสบำรุงสุข เป็นพระมิ่งขวัญมั่งมีเงินทอง ร. ศ.219 


ร.5 รุ่นปลดหนี้ 



เปลือย รุ่นมหามงคลเสาห้า ตะเพียนคู่ เซียนพระ   


พระเจ้าตากสินมหาราช วัดหงส์ รัตนารามราชวรวิหาร รหัส 6576  200บาท

 

เหรียญเจ้าพ่อเสือ   รหัส5139   150บาท